วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
คำว่า โครงสร้าง ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “structure” เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้เรียนภาษา เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษา ปัญหาที่สำคัญนั้นคือ ปัญหาทางโครงสร้าง นักแปลผู้ใดก็ตามที่ถึงแม้จะรู้ศัพท์แต่ละคำในประโยคแต่หากไม่เข้าใจความสัมพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้

1.ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
                ชนิดของคำ เป็นสิ่งที่สำคัญในโครงสร้าง เพราะเมื่อเราสร้างประโยคแล้วราต้องนำคำมาเรียงร้อยให้เกิดความหมายที่ต้องการ
                ประเภททางไวยากรณ์ คือลักษณะสำคัญของไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ซึ่งสัมพันธ์กับชนิดของคำ
1.1 คำนาม เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัยหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
                1.1.1 บุรุษ (person)
                1.1.2 พจน์ (number)
                1.1.3 การก (case)
                1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้ (countable and uncountable nouns)
                1.1.5 ความชี้เฉพาะ (definiteness)
1.2 คำกริยา นับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค
                1.2.1 กาล (tense)
                1.2.2 การณ์ลักษณะ (aspect)
                1.2.3 มาลา (mood)
                1.2.4 วาจก (voice)
1.3 ชนิดของคำประเภทอื่น คำที่เป็นปัญหาในตัวศัพท์เอง ได้แก่ คำบุพบท ซึ่งผู้แปลต้องหมั่นสังเกตบุพบทที่ใช้ต่างกันในสองภาษา
2.หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง (contruction) หมายถึง หน่วยทางภาษที่มีโครงสร้าง
2.1 หน่วยสร้างนามวลี
2.2 หน่วยสร้างนามวลี:ส่วนขยาย+ส่วนหลัก (อังกฤษ) VS ส่วนหลัก+ส่วนขยาย(ไทย)
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก (passive constructions)
2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject (อังกฤษ) กับประโยคเน้น topic (ไทย)
2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย (serial verb construction)
3. สรุป
                ในการแปลระหว่างภาไทยกับอังกฤษนั้น ลักษณะทางโครงสร้างที่แตกต่างกันและผู้แปลควรให้ความสนใจเป็นพิเศษดังนี้
3.1 เรื่องชนิดของคำ
3.2 เรื่องประเภททางไวยากรณ์
3.3 เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค


                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น